วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Diary 17


Record Knowledge 17
Monday 18 November 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock

🎷The Knowledge🎷

         การเรียนในครั้งนี้เป็นการเรียนโดยการให้นักศึกษาเตรียมเรื่องออกมาสอนคนละ 1 เรื่องและให้นักศึกษามาสอนโดยให้เพื่อน ๆ เป็นเด็กในการสอนรอบนี้  โดยการสอนของเพื่อน ๆ มีดังนี้


นางสาวกฤษณา กบขุนทด
สอนเกี่ยวกับ หน่วยของเล่นของใช้

                 คำแนะนำ : ให้เพิ่มเกี่ยวกับความตื้นเต้น โดยการหากล่องมาใส่ของต่าง ๆ และการนำสอนโดยให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วมเยอะ ๆ และเพิ่มตารางเกี่ยวกับประเภทของหน่วย


นางสาววิภาพร  จิตอาคะ
สอนเกี่ยวกับ หน่วยนม

             คำแนะนำ : ให้เพิ่มตารางเพื่อให้เห็นการเปรียบเทียบอย่างชัดเจน


นางสาววสุธิดา  คชชา
สอนเกี่ยวกับ หน่วยนม

               คำแนะนำ : เพิ่มเติมเกี่ยวกับนมที่หลากหลายชนิด ส่วนที่เหลือโอเคแล้ว


นางสาวขนิษฐา  สมานมิตร
สอนเกี่ยวกับ หน่วยนม

               คำแนะนำ : การนำเข้าสู่เนื้อหา ในตอนขั้นนำควรให้สอดคล้องมากกว่านี้ เพื่อให้เด็กเกิดคอนเซ็ปต์เรื่องนม


นางสาววิจิตรา  ปาคำ
สอนเกี่ยวกับ หน่วยนม

              คำแนะนำ : ควรเพิ่มคำถามที่เป็นเรื่องที่สอดคล้องกับคำคล้องจองของตนเอง อีกทั้งเพิ่มการสอนที่เป็นผังกราฟฟิกเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจ


นางสาวสุดารัตน์  อาสนามิ
สอนเกี่ยวกับ หน่ยวสัตว์

              คำแนะนำ : ควรเป็นบัตรภาพ และเขียนคำตามภาพและเพิ่มตารางเกี่ยวกับ สัตว์เลี้ยง สัตว์ที่ไว้ใช้งาน เป็นต้น


นางสาวสุภาภรณ์  วัดจัง
สอนเกี่ยวกับ  หน่วยส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้

              คำแนะนำ : ควรใช้เพลงที่ตรงกับหน่วยที่สอน และควรเพิ่มการสอนที่ห้เด็กออกมาแปะ มีส่วนร่วมในการสอนนี้ได้


นางสาวรัตนา  พงษา
สอนเกี่ยวกับ หน่วยครอบครัว

             คำแนะนำ : ควรมีภาพที่ชัดเจนและเพิ่มการสอนที่เป็นผังกราฟฟิก


นางสาวสุภาวดี  ปานสุวรรณ
สอนเกี่ยวกับ หน่วยภูเขาไฟระเบิด

                   คำแนะนำ : เพิ่มแผนการสอนที่เกี่ยวกับขั้นตอนวิทยาศาสตร์ และควรเพิ่มการวัด ชั่งตวง ให้มีการสอนแบบใช้แผ่นชาร์ตให้เด็กเห็นได้อย่างชัดเจน และควรเพิ่มลำดับการหยิบของขึ้นมาและควรมีภาชนะในการใส่สิ่งต่าง ๆ ที่จะใช้ทดลอง


นางสาวมารีน่า  ดาโร๊ส
สอนเกี่ยวกับ ประโยชน์ของต้นไม้

               คำแนะนำ : ควรเพิ่มการสอนที่ตรงตามหน่วยของตนเองให้มากกว่านี้


นางสาวปรางทอง  สุริวงษ์
สอนเกี่ยวกับ หน่วยผักและผลไม้

                คำแนะนำ : ควรเขียนคำพร้อมกับใต้ภาพและควรใช้คำถามที่ตรงกับหน่วยเพื่อให้เด็กตอบได้ตรงตามสาระการเรียนรู้ และเพิ่มเกี่ยวกับสื่อของจริง


นางสาวบงกชกมล  ยังโยมร
สอนเกี่ยวกับ หน่วยห้องภายในบ้าน

             คำแนะนำ : เพิ่มการสอนเกี่ยวกับห้องต่าง ๆ ว่าควรให้เด็กได้คอนเซ็ปว่าห้องคืออะไร สามารถทำอะไรได้บ้าง


นางสาวอุไรพร  พวกดี
สอนเกี่ยวกับ หน่วยวัฎจักรฝน

           คำแนะนำ : ควรศึกษาข้อมูลมาอธิบายเด็กให้ถูกต้อง เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้แบบขยายประสบการณ์


นางสาวสิริวดี  นุเรศรัมย์
สอนเกี่ยวกับ หน่วยฝน

        คำแนะนำ : ควรพูดเกี่ยวกับของใช้ในหน้าฝน และควรให้เด็กออกไปพบกับฝนที่เราสร้างเองเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างเต็มประสบการณ์


นางสาวอภิชญา  โมคมูล
สอนเกี่ยวกับ หน่วยไข่

       คำแนะนำ : ควรเป็นการสอนแบบโปรเจกต์ให้มีแหล่งที่มา การเปรียบเทียบลักษณะ และเป็นการให้เด็กมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการสัมผัสแลัสังเกตลักษณะของไข่ เช่น สี ขนาด รูปทรง พื้นผิว ให้เด็กสังเกตและมีการนับเลขแบบคณิตศาสตร์


นางสาวชนนิกานต์  วัฒนา
สอนเกี่ยวกับ หน่วยกลางวัน กลางคืน

          คำแนะนำ :  ควรปรับคำคล้องจอง หรือ หาขั้นก่อนเข้าเนื้อหาใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับเรื่องที่จะสอน เช่น เพลง ปริศนาคำทาย นิทาน เกม เป็นต้น


นางสาวสุชัญญา  บุญญะบุตร
สอนเกี่ยวกับ หน่วยส่วนประกอบของร่างกาย

         คำแนะนำ : ควรหารูปให้มีขนาดใหญ่กว่านี้ และควรเพิ่มการเขียนแผนภาพ



นางสาวสุภาภรณ์  วัดจัง
สอนเกี่ยวกับ หน่วยส่วนประกอบของต้นไม้

             คำแนะนำ : ทุกอย่างโอเคแล้ว


นางสาวกิ่งแก้ว  ทนนำ
สอนเกี่ยวกับ หน่วยนม

            คำแนะนำ : ควรปรับปรุงเรื่องลายมือ และควรสอนให้สอดคล้อง ให้สัมพันธ์กันระหว่างขั้นนำกับขั้นตาม


นางสาวประภัสสร  แทนด้วง
สอนเกี่ยวกับ หน่วยอาหารดีมีประโยชน์

          คำแนะนำ : ไม่ควรนำแผ่นชาร์ตอีกแผ่นเกี่ยวกับการเจริญเติบโต เพราะเราสอนในเรื่องของอาหารดี จะต้องมีการทำให้สุก ๆ สะอาด และกินให้ครบ 5 หมู่



กิ







    🎀  Teaching Methodes 🎀
         การที่นักศึกษานำเรื่องที่ตนเองสนใจออกมาสอน เพื่อเป็นการประเมินตนเองว่า ตนเองสามารถนำความรู้ที่เรียนมา นำมาปรับใช้ในวิชานี้ และการที่นักศึกษาออกมาสอนเป็นการนำสิ่งที่เรียนมาใช้เพื่อในอนาคตจะนำไปใช้ได้จริง
การเรียนการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอีกทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดความสามารถด้วย



  🎀 Apply 🎀
         คำชม คำแนะนำ คอยช่วยให้เราพัฒนาตนเองไปในทิศทางที่ดีขึ้น และสามารถนำคำแนะนำไปเพิ่มเติมให้ตนเองมีจุดด้อยน้อยลง และเป็นการเตรียมตัวนักศึกษาให้ไปเป็นครูที่ดีในอนาคต



 🎀 Evalaute Teaching and Learning 🎀

Self-assessment
   
  ൦ เข้าเรียนตรงเวลามีการร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ มีการฟังและจดบันทึกงาน ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย

Evalaute frieads

  ൦ ให้ความร่วมมือกันดี มีความสามัคคี สามารถช่วยกันทำกิจกรรมและแก้ปัญหา มีการช่วยออกความคิดเห็น และมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

Evalaute teacher

  ൦ มีการให้คำแนะนำเพื่อให้นักศึกษาได้เก็บเกี่ยวสิ่งที่ดีที่สุดไปสอนเด็ก ๆ

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Diary 16

Record Knowledge 16
Monday 18 November 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock


🎪 The knowledge  

            การเรียนการสอนวันนี้เป็นเรื่องของ  ไฮสโคปกับการส่งเสริม EF
      👉กิจกรรมที่ 1
กิจกรรมแรกที่อาจารย์ให้ทำคือการปรบมือตามจังหวะเพลง และแสดงท่าทางตามใจชอบ และเริ่มทำเป็นกลุ่มใหญ่คือทั้งห้อง อีกทั้งมีการจับคู่ และสลับกับเพื่อนที่คู่ด้วยแสดงท่าทางและทำตาม ถัดมาเป็นการแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ 10 คน และให้เพื่อนมายืนกลางวน 1 คน และแสดงท่าทางตอนถึงช่วงเพลงที่หยุด หลังจากนั้นเพื่อนก็เกาะไหล่ตามมา และทำแบบนี้ซ้ำๆ จนหมดกลุ่ม จากนั้นเป็นการทำกิจกรรมการใช้ประสาทสัมผัสและความจำในการเริ่มทำกิจกรรม โดยการเคาะกระดาษบนพื้น และมีการทำเป็นจังหวะ ต่อมาอาจารย์ให้เพิ่มจังหวะเข้ามาใหม่ เป็นการเคาะพื้น และมาตีที่เข่าซ้ายและส่งให้เพื่อนคนที่อยู่ทางด้านขวาของตัวเองและอาจารย์ให้หลับตาทำแบบนี้เช่นเดิม 









ทักษะ EF แบ่งได้ 3 ด้าน

💞 การควบคุมตนเอง

💞 ความจำใช้งาน
💞 การคิดวิเคระห์อย่างยืดหยุ่น



🌿EF (Executive Functions)
          เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process) ในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำและเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ และการทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุความสำเร็จ ซึ่งเป็นทักษะที่มนุษย์เราทุกคนต้องใช้ มีความสำคัญยิ่งต่อทั้งความสำเร็จในการเรียน การทำงาน รวมทั้งการมีชีวิตครอบครัว ทักษะ EF นี้นักวิชาการระดับโลกชี้แล้วว่า สำคัญกว่า IQ

           ทั้งนี้ มีงานวิจัยชัดเจนว่า ช่วงวัย 3-6 ปีนี้ เป็นช่วงเวลาทองของชีวิตในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก เพราะสมองจะมีการพัฒนาทักษะ EF ได้ดีที่สุดในช่วงเวลานี้ พ้นจากช่วงเวลานี้ไปถึงวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แม้จะยังพัฒนาได้ แต่ก็จะไม่ได้ดีเท่ากับช่วงปฐมวัย

ไฮสโคป

🌺ไฮสโคป
    แนวการสอนแบบไฮ/สโคป (High / Scope) การสอนเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้พัฒนาคนการเรียนรู้และการสอนทำให้มีการคิดเชื่อมโยงความรู้ได้อย่างรวดเร็วการศึกษาปฐมวัยจึงเป็นการศึกษาที่จัดให้แก่เด็ก 6 ขวบแรกเป็นการจักการศึกษาเพื่อการดูแลและสร้างเสริมเด็กให้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพด้วยการเรียนรู้ที่ถูกต้องแจ้งชัดลักษณะการจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งจำเพาะไปที่พัฒนาเด็กใจเด็กและอนาคตเด็กได้การสอนเด็กปฐมวัยไม่ใช่การถ่ายทอดความรู้แต่เป็นการจัดประสบการณ์อย่างมีรูปแบบเพื่อส่งเสริมพัฒนาการพัฒนาสมรรถนะทางปัญญาและพัฒนาจิตนิยมที่ดีการเรียนการสอนสำหรับปฐมวัยมีหลากหลายรูปแบบแต่สำหรับรูปแบบที่ผู้เขียนจะนำเสนอนั้นก็เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีความน่าสนใจอีกรูปแบบหนึ่งรูปแบบการเรียนการสอนที่ว่านั้นก็คือรูปแบบการเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป

🌺การเรียนการสอน
        การเรียนการสอนแบบไฮ / สโคปเป็นการสร้างองค์ความรู้จากการที่เด็กได้ลงมือจัดกระท่ากับอุปกรณ์หรือสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นประสบการณ์ตรงโดยที่ครูจะเป็นคนเตรียมอุปกรณ์ให้กับเด็กและกระตุ้นให้เด็กพัฒนาและดำเนินกิจกรรมโดยใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการคือ

          🍄การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติหรือดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายมีการสนทนาระหว่างครับเด็กว่าจะทำอะไรอย่างไรการวางแผนกิจกรรมอาจจะใช้แสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กเป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ

          🍄การปฏิบัติ (Do) คือการลงมือกระทำตามแผนที่วางไว้เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิดแก้ปัญหาตัดสินใจและทำด้วยตนเองเป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพัธ์ทางสังคมสูง

          🍄การทบทวน (Review) เป็นช่วงที่ได้งานตามจุดประสงค์ช่วงนี้จะมีการอภิปรายและเล่าถึงผลงานที่เด็กทำเพื่อทบทวนว่าเด็กสามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้หรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงแผนอย่างไรและชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างแผนกับการปฏิบัติและผลงานที่ทำรวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่างๆที่ได้รับการที่เด็กได้ลงมือทำงามหรือกิจกรรมด้วยความสนใจจะทำให้เด็กสนุกกับการทกงานการทำตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบผลงานที่เกิดขึ้นนับเป็นความสำเร็จของเด็กในการลงมือทำกิจกรรมกับเพื่อนอย่าง

มีความสุข

🎯  Teaching Methodes
         การใช้กิจกรรม นวัตกรรมที่เราคุ้นเคย มาสอน เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจในเรื่องที่นำมาสอนอย่างแท้จริง เพื่อเป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนในครั้งถัดไป

  🎯 Apply
         สามารถช่วยในเรื่องของการนำไปสอน และนำมาปรับใช้กับการสอนในลำดับต่อไป อีกทั้งเป็นการพัฒนาการศึกษาการศึกษาปฐมวัยให้เด็กเกิดประสบการณ์

 🎯 Evalaute Teaching and Learning

Self-assessment
   
  ൦ เข้าเรียนตรงเวลามีการร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ มีการฟังและจดบันทึกงาน ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย

Evalaute frieads

  ൦ ให้ความร่วมมือกันดี มีความสามัคคี สามารถช่วยกันทำกิจกรรมและแก้ปัญหา มีการช่วยออกความคิดเห็น และมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

Evalaute teacher

  ൦ มีการนำรูปแบบการสอนแบบ EF และ High / Scope มาสอน และเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ เข้าด้วยกันและยังสามารถสอนได้ดี มีเนื้อหาในการลำดับคอนเซปการสอนได้ดีสามารถนำไปใช้ในอนาคตได้จริง

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Diary 15


Record Knowledge 15
Monday 11 November 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock

🔘The Knowledge 
          วันนี้มีกิจกรรมเกี่ยวกับการวางแผนการจัดสภาพแวดล้อมของห้องปฎิบัติการ เพื่อให้เกิดความเรียบร้อย ทุกคนต่างช่วยกันทำกันอย่างเต็มที่ 

 🔘ภาพกิจกรรม 



วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Diary 14

Record Knowledge 14
Monday 4 November 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock

วันนี้ไม่มีการเรียน เนื่องด้วย
 วันที่ 4 และ 5 พฤศจิการยน 2562
คณะรัฐมนตรีจะมีการประชุมสุดยอดอาเซียน
เพื่อลดปัญหาการจราจรและอำนวยความสะดวก
มหาวิทยาลัยจึงขอประกาศเป็นวันหยุดพิเศษ


วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Diary 13

Record Knowledge 13
Monday 28 October 2019
Time 13:30 - 17:30 o'clock

🌸 The Knowledge 🌸
              การเรียนในวันนี้ เป็นการเรียนจากวิทยากร ซึ่งเคยเป็นอาจารย์ประจำสาขาการศึกษา ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ผู้ช่วยศาสตรจารย์ กรรณิการ์  สุสม 
และเป็นการเรียนการเรียนที่นำทั้งสองเซกมารวมกันเพื่อให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง 👉สารนิทัศน์
ก่อนเข้าสู่เนื้อหาการเรียน อาจารย์จินตนาแจกกระดาษนักศึกษาคนละ 1 แผ่น ให้นักศึกษาเขียนว่า
💗คนเป็นครูที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
💗เป้าหมายในการมาอบรม 
🍂ความหมายสารนิทัศน์
       🌼 สารนิทัศน์ มาจากคำว่า “สาระ” หมายถึง ส่วนสำคัญ ถ้อยคำ มาผสมกับคำว่า
“นิทัศน์” หมายถึงตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็นดังนั้น “สารนิทัศน์”จึงมีความหมายว่า ส่วนสำคัญที่นำมาเป็นตัวอย่างแสดงให้ผู้อื่นเห็น ในทางการศึกษาปฐมวัยมีคณาจารย์นำสารนิทัศน์มาใช้อย่างหลากหลาย

🌱 โดยสารนิทัศน์ให้ประโยชน์ต่อการแสดงภาพของเด็กโดยกระบวนการด้านเอกสารข้อมูลอย่างชัดเจน ดังนั้น การจัดทำสารนิทัศน์ จึงหมายถึง การจัดทำข้อมูลที่เป็นหลักฐานหรือแสดงให้เห็นร่องรอยของการเจริญเติบโต พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจากการทำกิจกรรม ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มซึ่งหลักฐานและข้อมูลดังกล่าวที่บันทึกเป็นระยะๆ จะเป็นข้อมูลอธิบายภาพเด็ก ที่บ่งบอกถึงพัฒนาการของเด็กได้ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคมสติปัญญา และแม้แต่สุขภาพ

🍂 คุค่สำคั
🍂รูร่นิทัน์
🍂กิจกรรมหลัก 4 กิจกรรมของกระบวนการเรียนรู้โดยใช้วิธีการไตร่ตรองสารนิทัศน์
🍂นิทัน์
🍂คำถามที่ครูควรใช้ถามเด็กปฐมวัย 
🍂 การประเมินพัฒนาการทางการคิดของเด็กปฐมวัย
🍂 การใช้ผังกราฟฟิกเพื่อพัฒนาการคิดของเด็กปฐมวัย


🌸 Teaching Methodes 🌸
         การสอนจากวิทยากรภายนอก ส่งผงฃลให้นักศึกษาเกิดการเปิดโลกทัศน์ใหม่ ๆ ในด้านต่าง ๆ และทำให้การเรียนมีความสนุกสนาน เนื่องด้วยท่านวิทยากรที่มานั้น มีรูปแบบ เทคนิคการสอนที่เป้นกันเอง ส่งผลทำให้นักศึกษาเกิดความสนุกสนาน สนุกกับการเรียน และเนื้อหาในการเรียนรู้ในครั้งนี้เป็นสิ่งที่เรียนมาบ้างแล้วแต่ไม่ได้ลงลึก

🌸 Apply 🌸
         การนำรูปแบบต่างๆของสารนิทัศน์ไปใช้เขียนเนื้อหาให้มีความครบถ้วน อีกทั้งการใช้กราฟฟิกต่าง ๆ ให้มีความหลากหลาย ให้เด็กเกิดการคิดอย่างเป็นองค์รวมพร้อมทั้งเป็นการจัดระเบียบของข้อมูลด้วย

  🌸 Evalaute Teaching and Learning 🌸

Self-assessment
   
  🔆เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  🔆มีส่วนร่วมกับกิจกรรม

Evalaute frieads

  🔆มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
  🔆ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Evalaute teacher

  🔆อธิบายหัวข้อการสอนได้เข้าใจ
  🔆อาจารย์คาดหวังให้นักศึกษาสอนเป็นเพื่อตัวของเราในอนาคต

ภาพกิจกรรม